ระบบชุมสายโทรศัพท์

5.1.1.3 ตู้สาขา DID (Direct Inward Dialling) 

          ตู้สาขาแบบนี้จะใช้งาน สะดวกสบายขึ้นมากกว่า PABX อีก เพราะตู้สาขาสามารถทำงานได้เอง โดยอัตโนมัติหมด ทุกอย่าง ไม่ว่าการเรียกภายในด้วยกันเอง หรือเรียกจากภายในออกไปภายนอก หรือเรียกจากภายนอกเข้ามาภายใน ทุกอย่าง ทำได้โดยไม่ต้องผ่าน พนักงานต่อสาย โครงสร้างของวงจรและการทำงานคล้ายกับ PABX แต่จะมีวงจรหมุน เข้าภายในอัตโนมัติ เพิ่มเข้ามาอีก

5.2 ระบบชุมสายโทรศัพท์

5.2.2 ระบบชุมสายโทรศัพท์ แบ่งตามลักษณะการทำงานของชุมสาย
 แบ่งได้ 6 ระบบ คือ          ระบบชุมสายโทรศัพท์ คือ หลักการทำงาน หรือวิธีการทำงานของเครื่อง ชุมสายโทรศัพท์ ว่าใช้วิธีการอย่างไร จึงสามารถ เชื่อมต่อหมายเลขต่างๆ เข้าด้วยกันได้ ระบบชุมสายโทรศัพท์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีผู้ผลิตคิดค้นขึ้นมาใช้งานมากมายหลายแบบ ซึ่งพอจะรวบรวมเป็นระบบใหญ่ๆ ได้ดังนี้

5.2.1 ระบบชุมสายโทรศัพท์ แบ่งตามลักษณะใช้งาน 
แบ่งได้ 2 ระบบ คือ

          5.2.1.1 ระบบ Manual เป็นชุมสายที่ไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ ต้องมีพนักงานต่อสาย คอยควบคุมเชื่อมต่อ เลขหมายต่างๆ ให้จึงสามารถสนทนากันได้ เช่น ระบบแม็กนีโต (Magneto) ระบบคอมมอนแบตเตอร์รี่ (Common Battery) เป็นต้น

          5.2.1.2 ระบบ Automatic เป็นชุมสายที่ทำงานหรือเชื่อมต่อเลขหมายต่างๆ ได้เอง โดยอัตโนมัติ โดยการหมุน เลขหมายที่ต้องการติดต่อ ชุมสายก็จะค้นหา และเชื่อมต่อให้ทันที โดยไม่ต้องมีพนักงานต่อสายมาต่อให้ เช่น ระบบสเต็บบายสเต็บ (Step By Step) ระบบครอสบาร์ (Cross Bar) ระบบอิเล็กทรอนิกส์สวิทซ์ชิ่ง (Electronic Switching) และ ระบบสเตอเรจโปรแกรมคอนโซน (Storage Program Control) เป็นต้น

          5.2.2.1 ระบบแม็กนีโต (Magneto)
          5.2.2.2 ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Common Battery)
          5.2.2.3 ระบบสเต็บ บาย สเต็บ (Step by Step)
          5.2.2.4 ระบบครอส-บาร์ (Cross Bar)
          5.2.2.5 ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Switching)
          5.2.2.6 ระบบสเตอเรจโปรแกรมคอนโทรล (SPC-Storage Program Control) 

5.3 ขั้นตอนการทำงานของชุมสายท้องถิ่น (Local Exchange)

          โดยหลักการแล้ว เครื่องชุมสายท้องถิ่น จะทำงานเมื่อได้รับ ข้อมูลเกี่ยวกับเลขหมาย ของผู้เช่าฝ่ายรับ ผู้เช่าฝ่ายรับ จากผู้เช่าฝ่ายเรียก เมื่อผู้เช่าฝ่ายเรียก ยกหูเรียกเข้าไปยังชุมสายท้องถิ่น วงจรของอุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) จะถูกต่อเข้า
กับผู้เช่าฝ่ายเรียก และส่งสัญญาณไดอัลโทน (Dial Tone) มาให้ เมื่ออุปกรณ์รับข้อมูล ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ เลขหมายของผู้เช่า ฝ่ายรับแล้ว ก็จะดำเนินการและวิเคราะห์ข้อมูล (Processing And Analyzing) ที่ได้รับ หลังจากนั้น ก็จะทำการ ต่อไปยังผู้เช่า ฝ่ายรับ ซึ่งอาจจะอยู่ภายในชุมสายเดียวกัน หรือว่าอยู่ในชุมสายท้องถิ่นอื่น หรือว่าต้องต่อผ่าน (Transit Exchange) ซึ่งชุมสาย ท้องถิ่น จะต้องส่งข้อมูลไปให้ เพื่อจะทำให้เข้าใจ การทำงานของชุมสายท้องถิ่น ง่ายยิ่งขึ้น จึงแบ่งช่องการทำงานออกเป็น ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

5.3.1 ช่วงผู้เช่าฝ่ายเรียก ยกหูเรียกและส่งเลขหมายของผู้เช่าฝ่ายรับ เข้ามายังชุมสาย (Incoming Signals)
รูปที่ 5.6 การเรียกจากผู้เช่าฝ่ายเรียก 
          เมื่อผู้เช่าฝ่ายเรียก ต้องการเรียกติดต่อ ไปยังเลขหมายอื่น ผู้เช่าฝ่ายเรียกจะต้อง ยกหูโทรศัพท์ขึ้น ทำให้ชุดสวิทซ์ ต่อสายโทรศัพท์ a และ b ถึงกับวงจรไฟกระแสตรงจากชุมสายผ่าน เครื่องโทรศัพท์กลับไปครบวงจร มีผลทำให้รีเลย์ทำงาน
เครื่องชุมสายท้องถิ่นก็จะรู้ว่า มีสัญญาณการเรียกเข้ามาจากผู้เช่าโทรศัพท์ จากนั้น เครื่องชุมสาย จะต่อวงจรผู้เช่าฝ่ายเรียก เข้ากับอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือตัวเก็บข้อมูล (Register)
          เพื่อเตรียมรับเลขหมายของผู้เช่าฝ่ายรับสัญญาณ ไดอัลโทนจะถูกส่งไปให้ผู้เช่าฝ่ายเรียก เพื่อทำให้ผู้เช่ารู้ว่า เครื่องชุมสาย พร้อมที่จะรับเลขหมายของผู้เช่าฝ่ายเรียกแล้ว ผู้เช่าจะต้องหมุนเลขหมายสวิทช์ของหน้าปัด จะเปิดวงจร เป็น จำนวนครั้ง เท่ากับเลขหมายที่หมุน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลูกคลื่น (Pulse) ส่งจากเครื่องโทรศัพท์ไปให้เครื่องชุมสายดังแสดง ในรูป 5.7 เลขหมายของผู้เช่าฝ่ายรับ จะถูกเก็บไว้ในเครื่องชุมสาย เพื่อเตรียมปฏิบัติการต่อไป
รูปที่ 5.7 การส่งสัญญาณเรียกเข้ามายังเครื่องชุมสาย
5.3.2 ช่วงการดำเนินการกับข้อมูลที่ได้รับ (Processing of The Recived Information) 
          เมื่อชุมสายท้องถิ่น ได้รับข้อมูลเลขหมาย ของผู้เช่าฝ่ายรับเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการ และวิเคราะห์ (Processing And Analysis) กับข้อมูลที่ได้รับ ดังนี้
          - มีการต่อทิศทางไปทางไหน (Traffic Direction) และมีเส้นทางเลือก (Alternative Routs) หรือไม่
          - การคิดเงินค่าบริการ (Charging)
          - การส่งสัญญาณ (Signalling) ไปรับผู้เช่าฝ่ายรับหรือว่าไปชุมสายอื่น
          - กระแสที่ต้องป้อนให้ผู้เช่าฝ่ายรับ
          - การติดต่อ (Connection) จะถูกยกเลิกในลักษณะใด
          - จะมีการเลือกเส้นทางของสัญญาณสายออก (Outgoing External Line) และทางเดินของสัญญาณสายเข้า (Internal line) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์วงจร ดังแสดงในรูปนี้ 5.8
รูปที่ 5.8 การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่รับเข้ามา 
5.3.3 ช่วงดำเนินการต่อวงจร (Setting Up The Connection) 
          เมื่อได้รายละเอียดเกี่ยวกับการต่อวงจรเรียบร้อยแล้ว การต่อวงจรก็จะถูกดำเนินการ โดยภาคสวิทชิ่ง (Switching Unit)
ถ้าหากว่าเป็นการต่อวงจรซึ่งต้องผ่านหลายๆ ชุมสายผู้เช่าฝ่ายเรียก จะยังไม่ถูกต่อวงจร จนกว่าการเรียก จะต่อไปถึงผู้เช่าฝ่ายรับ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เช่าฝ่ายเรียก ได้ยินเสียงรบกวน จากการส่งสัญญาณ ระหว่างชุมสายผ่าน
รูปที่ 5.9 ช่วงดำเนินการต่อวงจร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น